ปกติอุปกรณ์ Control Charger ที่เราเห็น ๆ กันส่วนใหญ่ในท้องตลาด จะเป็น Control Charger ที่สนับสนุนอุปกรณ์โซล่าเซลล์เสียเป็นส่วนใหญ่ หน้าที่ของเขาคือเป็นตัวควบคลุมการชาร์จไฟจากแผงโซล่าเซลล์ลงบนแบตเตอร์รี่เพื่อเก็บพลังงานไว้ใช้งานต่อไป ยุคแรก ๆ ของตัว Control Charge จะไม่มีพอร์ต USB มาให้ พูดง่าย ๆ ก็คือใช้งานควบคุมการชาร์จแบตเตอร์รี่เพียงอย่างเดียว และก็ไม่มีหน้าจอแสดงผลให้เห็นแบบทุกวันนี้
แต่สมัยนี้ Control Charger แบบเดิม ๆ ไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว จะมีบ้างก็สำหรับชาร์จอุปกรณ์เล็ก ๆ ไม่กี่แอมป์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ Control Charger รุ่นใหม่มาเพียบพร้อมด้วยหน้าจอแสดงผลและสนับสนุนพอร์ต USB มาให้ ทำให้นอกจากควบคลุมการชาร์จไฟจากแผงโซล่าร์เซลล์ในแบตเตอร์รี่แล้ว ยังสามารถใช้งานชาร์จอุปกรณ์สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อีเล็คทรอนิกส์ที่สนับสนุนการชาร์จผ่านพอร์ต USB ด้วย วันนี้ผู้เขียนก็เลยจะมานำเสนอแนวทางการทำงานอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากทำการงานหลักของการชาร์จไฟฟ้าจากแผงโซล่าร์เซลล์ เผื่อได้นำไปประยุกต์ยามฉุกเฉินได้ด้วย
แต่ก่อนอื่นก่อนไปถึงวิธีการทำงาน ขอแนะนำ Control Charger กันสักหน่อย
สั่งซื้อ Control Charger ราคาถูกเจ้า Control Charger ที่เห็นอยู่นี่ หรือที่ขายตามที่ต่าง ๆ ทั่วไป ราคาจะไม่เท่ากัน ทั้งที่มีรูปร่างหน้าตาคล้าย ๆ ซึ่งสิ่งที่จะทำให้ราคาไม่เท่ากันประกอบด้วย
1. เรื่องกำลังในการชาร์จเช่น 5A , 10A , 20A ฯล ยิ่งขนาดแอมป์เยอะ ๆ ก็จะให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้เยอะทำให้สามารถไฟฟ้าได้เร็วขึ้น
2. ระบบภายใน PWM และ MTTP ซึ่ง 2 ระบบนี้ มีข้อแตกต่างกัน ตัว PWM จะมีราคาถูกกว่า น้ำหนักเบา แต่ความเสถียรในการชาร์จจะไม่ดีเท่ากับตัว MTTP ที่มีระบบการคำนวณการชาร์จที่แน่นอน ควบคลุมการชาร์จให้ความเสถียรมากกว่า แต่มีราคาสูงกว่า ดังนั้นหากไม่ใช่ระบบที่ใหญ่หรือต้องการความเสถียรมากมายคนจะนิยมซื้อตัวแรกมากกว่า หรือถ้ามีกำลังทรัพย์ที่มากพอก็ใช้ MTTP ก็จะดีกว่านั้นเอง
ก่อนหน้าผู้เขียนเคยใช้ IC7805 มาทำตัวชาร์จอุปกรณ์จากแบตเตอร์รี่พวกนี้ แต่เนื่องจาก IC7805 ค่อนข้างร้อนมาก แม้ใส่ฮิตซิงค์ขนาดใหญ่ก็ยังร้อน ไม่เหมาะที่จะนำมาชาร์จนาน ๆ
สังเกตว่าเมื่อ Control Charger ตัวนี้ต่ออยู่กับแผงโซล่าร์เซลล์และแบตเตอร์รี่เรายังสามารถมาชาร์จอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้โดยที่ Control Charger ไม่ร้อนเลย ดังนั้นหากนำมาเป็นอุปกรณ์สำหรับชาร์จโทรศัพท์ สมาร์ทโฟน ฯล จากแบตเตอร์รี่โดยตรงก็น่าจะได้เช่นกัน เลยมาทำการทดสอบดู ปรากฏว่าใช้งานได้ดี ไม่มีความร้อนเกิดขึ้น ถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งในยามหาแหล่งจากไฟฟ้าจากบ้านเรือนโดยตรงไม่ได้ ก็สามารถชาร์จอุปกรณ์มือถือได้ง่าย ๆ เลยทีเดียว
จากภาพด้านบน ผู้เขียนทดลองชาร์จ iPad จนเกือบเต็ม 100% แต่แรงดันลดลงไม่มากนัก ยังเหลือพลังงานเพื่อใช้ไปทำอย่างอื่นอีกได้เหลือ ๆ
หลังจากที่บทความนี้เผยแพร่ออกไปสักพักปรากฏว่ามีเพื่อน ๆ น้อง ๆ หลายคนสนใจตัวกระตุ้นแบตเตอร์รี่เก่าให้กลับมาใช้งานได้ ซึ่งผู้เขียนได้เขียนถึงก่อนหน้านี้ ก็เลยถือโอกาสนี้มาแนะนำเครื่องชาร์จแบตฯ พร้อมฟังก์ชั่นกระตุ้นแบตมาให้ด้วยตัวนี้
สั่งซื้อเครื่องชาร์จและกระตุ้นแบตฯ Foxurราคาของเครื่องชาร์จและกระตุ้นแบตฯ Foxur เนื่องจากมีร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องนี้อยู่หลายร้านและราคาไม่เท่ากัน โดยราคามีตั้งแต่ 289 บาท จนถึงพันกว่าบาท ลอง ๆ เลือกหาดู แต่เลือกให้คลิกสั่งซื้อจะเป็นราคาที่ถูกที่สุด สามารถใช้งานได้ทั้งโหมดชาร์จปกติและ โหมดกระตุ้นแบตฯหรือสลายฟอสเฟต ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ให้กำลังถึง 5A เลยทีเดียว